27th November 2015
Foreign, Commonwealth & Development Office Blogs
A unique insight into UK foreign and development policy
15th September 2015
วันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันประชาธิปไตยสากลของสหประชาชาติและบรรดาชาติสมาชิก
12th March 2015
Annual Human Rights Report for 2014 รายการสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557
5th September 2014
การศึกษา
การศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุกๆ สังคม ทั้งทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมืองและวัฒนธรรม รัฐบาลส่วนใหญ่ตระหนักดีในข้อนี้และผลักดันให้การศึกษาเป็นส่วนสำคัญของนโยบาย แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ในความเป็นจริงอาจจะใช้เวลาหลายชั่วอายุคนที่จะยังให้นโยบายการศึกษาผลิดอกออกผลเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวผ่านระบบ ซึ่งเราจะไม่เห็นผลในทันที ทัศนคตินั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ การใช้เทคโนโลยีนั้นสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คุณภาพของผู้สอนและวิธีการสอนก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ผมเล็งเห็นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ผ่านประสบการณ์ด้านการศึกษาของตัวผมเอง ผมเรียนโรงเรียนมัธยมของรัฐแถวๆ บ้าน ต้องขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน ที่ผมได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนต่อด้านกฎหมายในมหาวิทยาลัย ตอนนั้นผมไม่มีความรู้ด้านกฎหมายมากนัก แต่มีหนังสือเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ในห้องสมุดเล็กๆ ที่โรงเรียนเกี่ยวกับอาชีพทนายซึ่งอ่านดูแล้วน่าสนใจมากทีเดียว และผมก็คิดว่าผมจะลองสมัครเข้าเรียนดู ชีวิตในมหาวิทยาลัยของผมเป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดมาก สอนให้ผมมีความรู้ความสามารถ ที่จะตัดสินประเด็นต่างๆ ด้วยข้อเท็จจริงและไม่กลัวที่จะตั้งคำถาม ข้อโต้เถียงที่ไม่สมเหตุสมผลไม่สามารถพลิกมาเป็นข้อดีได้เพียงเพราะว่าคนที่พูดนั้นเป็นคนใหญ่คนโต หลังจากนั้น ผมได้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศในทวีปยุโรป และนั่นก็เป็นประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป ผมชอบสังคมและการใช้ชีวิตที่นั่นมาก แต่ก็ผิดหวังอย่างมากกับการเรียนการสอน ผมจำได้ว่า ครั้งหนึ่งระหว่างที่อาจารย์บรรยายอยู่ในชั้นเรียน อาจารย์พูดว่า “ถ้าคุณอยากได้คะแนนสูงๆ ตอนทำข้อสอบ ให้จดสิ่งที่ผมพูด แล้วเอาไปตอบข้อสอบตามนั้น” นั้นไม่ใช่การเรียนรู้หรือพัฒนาการศึกษาอะไรเลย มันเป็นเพียงการทดสอบความจำ หรือถ้าจะพูดแรงๆ ก็คือความพยายามในการล้างสมอง ในทำนองเดียวกัน ถ้าวิธีการเรียนการสอนสำคัญ วิชาที่สอนก็มีความสำคัญเช่นกัน มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจำเป็นต้องสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับความต้องการของสังคม ตัวอย่างอันหนึ่งได้แก่ การศึกษาระดับอาชีวะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เพื่อให้นักเรียนอาชีวะมีทักษะที่จำเป็นในการทำงานและได้มีงานที่ดี ดังนั้นจึงควรมีการร่วมมือกันระหว่างภาคการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ในสหราชอาณาจักร เราเห็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับการศึกษา เช่น บริษัท โรลส์รอยซ์ มีความร่วมมือกับภาคการศึกษาตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงงานวิจัยระดับปริญญาเอก และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นต้น สหราชอาณาจักรยังถูกมองว่าเป็นผู้นำโลกด้านการศึกษา และมีนักศึกษาต่างชาติจำนวนมากนิยมเดินทางมาศึกษาต่อ สหราชอาณาจักรก็เหมือนกันกับประเทศอื่นๆ ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ แต่ด้วยคุณภาพการศึกษา ประกอบกับประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลาย มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่าว ทำให้มีนักเรียนต่างชาติเดินทางมาศึกษาต่อจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปแล้ว ประเทศไทยติดหนึ่งในสิบของประเทศที่มีนักเรียนเดินทางมาศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรมากที่สุด ในปีที่ผ่านมามีนักเรียนไทยเดินทางมาศึกษาต่อถึง 8 พันคน หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม มีเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตมากมายที่มีประโยชน์ เช่น เว็บไซต์ UCAS เกี่ยวกับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือท่านสามารถติดต่อ บริติช […]
27th August 2014
Beginning blogging again
ผมกลับมาเขียนบล็อกอีกครั้งหลังจากหายไปเกือบ 4 ปี ผมเคยเขียนเมื่อตอนเป็นทูตที่เวียดนาม จากนั้นมาผมก็ไปใช้ทวิตเตอร์ ตอนนี้ผมจะพยายามทำพร้อมๆกันทั้งสองอย่าง ในการเขียนบล็อกครั้งแรกนี้ผมจะพยายามเขียนเกี่ยวกับตัวผมครับ ผมเติบโตจากหมู่บ้านเล็กๆในชนบทของประเทศอังกฤษที่แคว้นลิงคอล์นเชียร์ พ่อของผมเป็นเกษตรกรและก็ขับรถบรรทุก ส่วนแม่ของผมเป็นครู ผมเรียนในโรงเรียนประจำท้องถิ่น และมีโอกาสได้ไปเรียนกฏหมายที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และได้เรียนต่อปริญญาโทด้านกฎหมายยุโรปและเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประวัติการทำงานของผมดูได้ที่นี่ ผมเป็นข้าราชการมาตลอดชีวิตการทำงานของผม และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง บล็อกของผมเสนอความคิดเห็นและมุมมองส่วนตัวของผม ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นความเห็นของรัฐบาลอังกฤษ ผมจะพยายามอธิบายถึงนโยบายของสหราชอาณาจักรอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะเน้นที่ประเทศไทยและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักร ผมจะพยายามเขียนบล็อกเป็นรายสัปดาห์ ดังนั้น ผมจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมโดยเกริ่นนำถึงสิ่งที่ผมเชื่อมั่นและประเด็นต่างๆที่ผมจะเขียนถึง ด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยผมเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ผมได้เข้าเผ้าพระองค์สองครั้งก่อนปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเอกอัครราชทูต สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ผมเทิดทูนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี และผมก็ตระหนักถึงความจงรักภักดีอันท่วมท้นที่ประชาชนชาวไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยเช่นกัน สถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสังคมในระยะเวลาที่ผ่านมาและเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ เช่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงปรากฏพระองค์ในกีฬาโอลิมปิกลอนดอน 2012 ความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถไม่ได้เกิดจากการใช้กฏหมายใดบังคับ คนที่ไม่นิยมสถาบันพระมหากษัตริย์มีจำนวนน้อย แต่พวกเขาได้รับเสรีภาพในการยึดมั่นกับความเห็นของตน ผมเชื่อในการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าไม่มีความจำเป็นต้องเลือกระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาธิปไตย ทั้งสองอยู่ด้วยกันได้อย่างดี ด้านประชาธิปไตย โดยย่อ ดังที่อับราฮัม ลินคอล์นกล่าวไว้ว่า “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ประชาธิปไตยนั้นไม่สมบูรณ์แบบ โดยอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลเคยกล่าวไว้ว่า เป็นระบบการปกครองที่แย่ที่สุด ถ้าไม่นับระบบอื่นทั้งหมดที่ได้ลองกันมา นอกจากนั้น […]