This blog post was published under the 2010 to 2015 Conservative and Liberal Democrat coalition government

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

Mark Kent

British Ambassador to Argentina

14th November 2014

Thailand's Choice ทางเลือกของประเทศไทย

Business People Sitting in an Office Building Having a Meeting

ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทยช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 มีผลต่อเศรษฐกิจ แต่ทันทีภายหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ผมได้พบกับนักธุรกิจไทยและอังกฤษซึ่งมองในแง่ดีว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจน่าจะกลับมาสู่ประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเริ่มหลุดพ้นจากภาวะตกต่ำ

อย่างไรก็ตามนักธุรกิจอังกฤษที่ทำธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานคาดการณ์ว่าน่าจะมีการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติอาจจะถูกนำขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังจากถูกระงับไว้ในปีพ.ศ. 2550

ดูเหมือนว่านักธุรกิจจะคาดการณ์ถูกในทั้งสองประเด็น ความเชื่อมั่นทางธุรกิจได้กลับมาแล้ว แม้ว่าเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวเร็วเท่าที่ต้องการก็ตาม และขณะนี้ได้มีการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ทั้งสองสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกัน ถ้าข้อเสนอเรื่องการแก้ไขนี้ผ่าน โอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยก็จะมีความเป็นไปได้น้อยลง

สำหรับคนที่ไม่ทราบเรื่องนี้มากนัก พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดข้อจำกัดเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการ ซึ่งจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติอยู่ที่ร้อยละ 49  ผลก็คือ นักลงทุนจากต่างประเทศจะเลือกที่จะถือหุ้นบุริมสิทธิ์เพื่อควบคุมธุรกิจและเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูง โครงการจัดฝึกอบรมต่างๆ และความมั่นคงของแบรนด์

มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงนิยามความหมายของธุรกิจต่างด้าวภายใต้เงื่อนไขของพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการป้องกันการถือหุ้นบุริมสิทธิ์ของนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการควบคุมธุรกิจของตนเอง คล้ายกับเมื่อปีพ.ศ.2550 ที่ทำให้เกิดความกังวลในหมู่นักลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย หอการค้าต่างประเทศ และคนไทยหลายคนซึ่งเชื่อในเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมและบรรดานักการทูตจากสถานทูตอื่นๆเกิดความกังวล ซึ่งความวิตกของเรานั้นรวมไปถึงความเสี่ยงเนื่องจากกระบวนการการแก้ไขอาจไม่ได้ตระหนักถึงความกังวลของกลุ่มนักลงทุนด้วย ผมหวังว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น

แต่สิ่งที่ผมไม่ค่อยเข้าใจคือ เหตุใดถึงเกิดข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงตอนนี้

ประเทศไทยมุ่งมั่นจะเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และก็ควรจะเป็นเช่นนั้น รัฐมนตรีต่างๆของไทยกล่าวอยู่ทุกวันถึงแผนการลงทุนในด้านสาธารณูปโภค การศึกษา เศรษฐกิจแบบดิจิทัล การวิจัยและการพัฒนา เขาพูดถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง และบริษัทอังกฤษมีความสามารถหลากหลายที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน เช่น เทคโนโลยี ประสบการณ์การจัดการโครงการที่แข็งแกร่ง และความสร้างสรรค์ชั้นนำของโลก

เทคโนโลยี ความรู้ นวัตกรรม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ประเทศไทยแสวงหา เพื่อยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยังมีอีกหลายสิ่งที่บริษัทจากต่างประเทศมอบให้ผ่านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เมื่อก่อนประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองจากการรับการลงทุนจากต่างประเทศในภาคการผลิต ซึ่งสร้างการจ้างงานและความมั่งคั่งให้กับคนไทย

แต่มีความเสี่ยงที่ทางการไทยจะก้าวถอยหลังในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อาจเกิดผลเสียระยะยาวสำหรับคนไทยในรุ่นต่อไป

นักลงทุนต่างชาติมีทางเลือกมากมายในการตัดสินใจว่าจะลงทุน ทั้งในด้านการเงิน เทคโนโลยี และการจ้างงานต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนบ้านของไทยในอาเซียนกำลังพัฒนาเศรษฐกิจโดยการเพิ่มสิ่งดึงดูดให้มากขึ้น โดยยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ ในทางตรงกันข้ามข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างด้าวอาจทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการดึงดูดนักลงทุนลดลง นักลงทุนต่างชาติไม่ต้องการนำเทคโนโลยีขั้นสูงและแบรนด์ที่มีชื่อเสียงไปเสี่ยง ถ้าเขาไม่สามารถควบคุมได้ การสร้างงานและการเจริญเติบโตก็จะไปที่อื่น

ไม่เพียงแต่การลงทุนจากต่างชาติในอนาคตที่จะได้รับผลกระทบ ข้อเสนอในการเปลี่ยนพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างด้าวอาจจะมีผลต่อการลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน บริษัทต่างชาติซึ่งหลายพันบริษัทที่มีการจ้างงานไทยหลายแสนตำแหน่งหรืออาจจะเป็นล้านตำแหน่งอาจจะได้รับผลกระทบ นักลงทุนปัจจุบันอาจตัดสินใจชะลอแผนการลงทุนในขณะที่ทางการไทยต้องการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ บางรายอาจเลือกที่จะถอนการลงทุนเพราะเกรงจะถูกยึดธุรกิจ ในทางกลับกันอาจทำให้บริษัทแสวงหาสิ่งตอบแทนภายใต้พันธกรณีการค้าและการลงทุนต่างประเทศซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกมัดอยู่

ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องเลือกระหว่างการใช้โอกาสนี้เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และเพิ่มโอกาสในการยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

หรือจะเลือกทางเดินที่ต่างออกไป

About Mark Kent

Mark Kent graduated in Law from the University of Oxford. He gained a Master’s degree in European Law and Economics from the Université Libre de Bruxelles in Belgium, and has…

Mark Kent graduated in Law from the University of Oxford. He gained a
Master’s degree in European Law and Economics from the Université Libre
de Bruxelles in Belgium, and has a postgraduate qualification in
Business Administration from the Open University. He has studied Thai at
Chiang Mai University, Khon Kaen University and Chulalongkorn
University.

Mark Kent joined the FCO in 1987 and has spent most of his career
working with the emerging powers of South East Asia and Latin America,
and with the European Union. He is a Fellow of the Institute of
Leadership and Management and has language qualifications in Thai,
Vietnamese, Spanish, Dutch, French and Portuguese.

Mark Kent took up his appointment in August 2012.